ข้อควรบ่งใช้ในการเลือกใช้ขวดยา

เลือกประเภทของขวดยาให้เหมาะสม

ขวดยา

หากพูดถึงการเก็บรักษาของยาและเวชภัณฑ์ก็เปรียบเหมือนอาหาร ที่ต้องเก็บรักษาให้ถูกวิธี ในที่ที่เหมาะสม ในอุณหภูมิที่ถูกต้อง เก็บในขวดยาหรือภาชนะที่ถูกต้อง โดยทั่วไปพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ทางเภสัชศาสตร์นั้น จะเก็บยาไว้ในกล่องยาสามัญประจำบ้าน เก็บไว้รวม ๆ กันในที่ที่เป็นระเบียบ
แต่อาจจะยังไม่ใช่ในที่ที่ควร ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต้องทานยาต่อเนื่องระยะยาว ไปพบแพทย์แต่ละก็จะได้รับยามาในปริมาณมาก ๆ และเมื่อนานวันเข้า ผสมกับการเก็บรักษายาที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพลง ทานเท่าไรก็ไม่มีส่วนช่วยรักษา เมื่อไม่ดีขึ้น ไม่เห็นผลก็ต้องไปพบแพทย์ขอยาใหม่ และเป็นการเสียงบประมาณทิ้งสูญเปล่า

ปัจจัยที่ทำให้ยาเสื่อมคุณภาพและใช้งานไม่ได้ผล

แสงแดด
มีตัวยาหลายชนิดเมื่อโดนแสง จะทำให้ตัวยาเกิดการเสื่อมสภาพ จึงไม่ควรเก็บยาให้โดนแสงแดด ทางที่ดีไม่ควรแกะเม็ดยาออกจากภาชนะบรรจุเดิมของยา หากยังไม่ต้องการใช้งาน เพื่อเป็นการคงคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ของยาไว้ เพราะหากแกะยาแล้วไม่รับประทานทันที หรือเก็บไว้ในกระปุกแฟชั่น ยาจะมีโอกาสโดนแสงทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกบรรจุภัณฑ์ทึบแสง ไม่ให้แสงลอดผ่าน

อุณหภูมิ
อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป เกิดผลต่อข้างเคียงคุณภาพของยาได้ โดยทั่วไปตามคำแนะนำของเภสัชกรและตำรายาให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง คือ อุณหภูมิประมาณ 18 -25 องศาเซลเซียส แต่ยาบางชนิดจะต้องเก็บในตู้เย็น เพื่อรักษาอุณหภูมิโดยเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ไม่เก็บไว้ที่ช่องแช่แข็งหรือที่ฝาตู้เย็น เพราะเมื่อเราเปิด-ปิดตู้เย็น อาจทำให้อุณหภูมิสวิงขึ้นลงได้ ทางที่ดีเมื่อได้รับยาแล้วให้ขอคำแนะนำการเก็บรักษา หากยาที่ได้รับต้องรักษาอุณหภูมิ

ความชื้น
ตัวยาหลายชนิดเมื่อเจอความชื้นตัวยาจะเกิดการสลายตัว และยาเม็ดส่วนใหญ่เมื่อโดนความชื้นจะมีผลต่อชั้นเคลือบเม็ดยาทำให้บวมหรือเกาะเป็นก้อนได้ จึงไม่ควรเก็บยาในบริเวณที่มีความชื้นสูง และควรปิดฝาขวดยาให้สนิททุกครั้ง ซึ่งเราสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้น ได้ด้วยการใส่ซองกันซื้นเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ยาเม็ด

อากาศ
ในอากาศมีก๊าซต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถเร่งให้ยาเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรเก็บยาในภาชนะที่มีสามารถปิดสนิทมิดชิด และไม่แกะเม็ดยาออกจากภาชนะบรรจุเดิมของยาโดยที่ยังไม่ต้องการใช้ เราสามารถเลือกที่จะเพิ่มการติดแผ่นฟรอย์ หรือแผ่นปิดฝากระปุก เพื่อป้องกันอากาศเข้าออก อีกทั้งยังทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยว่าบรรจุภัณฑ์ยังไม่ได้ถูกเปิดใช้งานมาก่อนด้วย

ประเภทของขวดยา

ตามตำรายาที่เป็นข้อมูลอ้างอิงของเภสัชกร ได้ระบุข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ เพื่อควบคุมคุณภาพของยาไว้ 3 แบบ โดยตำรายาของอเมริกาได้นิยามไว้ดังนี้

1. ขวดยาแบบปิดสนิท (Well-closed)
คือ บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันมวลสสารจากภายนอกเข้ามาปนเปื้อนตัวยาสำคัญในขวดและสามารถป้องกันการสูญหายของตัวยาสำคัญระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่าย ตัวอย่างของขวดยาหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท เช่น ขวดยาฝาเกลียวไม่มีขอบซีล ตลับแบ่งยา ซองยาซิปล็อก

2. ขวดยาแบบปิดแน่น (Tight)
คือ ขวดยาที่ป้องกันไอระเหยจากสสารนอกขวดเข้ามาปนเปื้อนตัวยาสำคัญ สามารถป้องกันการสูญหายของตัวยาสำคัญได้เช่นเดียวกับแบบปิดสนิท และป้องกันการเกิดเป็นผลึกสำหรับยาชนิดผง การระเหย ระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่าย ตัวอย่างของขวดยาประเภทนี้ คือ กระปุกยาชนิดฝาปิดสนิท กระปุกยาชนิดฝาล็อกหรือกระปุกยาที่มีขอบซีลยาง

3. ขวดยาแบบกันแสง (Light-resistant)
คือ ขวดยาที่ป้องกันตัวยาจากแสงแดด ลักษณะขวดยาจะเป็นแบบทึบแสง ถ้าเป็นขวดแก้ว จะเพิ่มการป้องกันแสงด้วยการเคลือบขวดให้ทึบแสง ตัวอย่างของภาชนะบรรจุประเภทนี้ คือ ซองยาซิปล็อกสีชา กระปุกยาชนิดแก้วสีชา ขวดยาแบบทึบแสง

ตัวอย่าง ยาสามัญและบรรจุภัณฑ์ในการจัดเก็บ

ชื่อยาสามัญ

รูปแบบยา

ภาชนะบรรจุ

Paracetamol 

พาราเซตามอล

ยาเม็ด

ขวดยาแบบปิดแน่น

Tight

Amoxicillin 

อะม็อกซีซิลลิน

ยาเม็ด

ขวดยาแบบปิดแน่น

Tight

Penicillin V

เพนิซิลลิน วี

ยาเม็ด

ขวดยาแบบปิดแน่น

Tight

Norfloxacin

นอร์ฟล็อกซาซิน

ยาเม็ด

ขวดยาแบบปิดสนิท

Well closed

Ascorbic acid

วิตามินซี

ยาเม็ด

ขวดยาแบบกันแสง 

Light-resistant

Fish Oil Omega3

ยาแคปซูล

ขวดยาแบบปิดแน่น Tight ,

ขวดยาแบบกันแสง Light-resistant

Doxycycline

ด็อกซี่ซัยคลิน

ยาแคปซูล

ขวดยาแบบปิดแน่น Tight ,

ขวดยาแบบกันแสง Light-resistant

Curcuminoids

ขมิ้นชัน

ยาเม็ดและแคปซูล

ขวดยาแบบปิดสนิท Well closed

ขวดยาแบบกันแสง Light-resistant

Calcium Carbonate

แคลเซียมคาร์บอเนต

ยาเม็ด

ขวดยาแบบปิดสนิท

Well closed

เมื่อคุณทราบถึงรูปแบบยาแล้วว่ายาชนิดใดขวดใส่ขวดแบบทึบแสง ยาชนิดใดควรใส่ขวดแบบปิดสนิท ก็ใช่ว่าจะผลิตยาใส่ขวดแบบใดก็ได้ ซึ่งการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์ก็ต้องมีมาตรฐานรองรับเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานสำหรับภาชนะแก้วบรรจุยาในประเทศไทย
มาตรฐาน มอก. สำหรับภาชนะแก้วบรรจุยาชนิดต่าง ๆ ถูกกำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้วยกัน 6 รูปแบบ

1. มอก.362-2548 ขวดแก้วบรรจุยาน้ำ
2. มอก.417-2548 ขวดแก้วบรรจุยาเม็ด
3. มอก.532-2546 ขวดแก้วสำหรับบรรจุภัณฑ์เภสัชจากเชื้อที่ใช้ทางหลอดเลือด
4. มอก.501-2546 วิธีทดสอบความทนทานทางเคมีของภาชนะแก้วบรรจุยา
5. มอก.502-2547 หลอดฉีดยา
6. มอก.503-2547 ขวดยาฉีดแก้ว : ทำจากหลอดแก้ว

จากทั้งหมดสรุปได้ว่า การเลือกบรรจุภัณฑ์ เพื่อบรรจุยา อย่าเลือกที่ความสวยงามเป็นอันดับแรกให้เลือกที่การกักเก็บคุณสมบัติของยาชนิดนั้น ๆ ให้นานที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับตัวยาสำคัญอย่างครบถ้วน ถ้าตอนนี้คุณกำลังมองหาขวดยา ที่ออกแบบตามความต้องการ ตอบโจทย์อย่างครบครัน และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอด ตั้งแต่เริ่มกระบวนการยันจบโปรเจกต์ บริษัท โอ้วไถ่ฮง บรรจุภัณฑ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ที่เก่าแก่มานานกว่า 60 ปี การันตีได้ว่าคุณจะได้สิ่งที่ดีที่สุดตรงใจต้องการทุกประการ

 

 

ติดต่อสอบถามสินค้าและสั่งซื้อได้ทาง

Line@ id: @othpackage
คุณแหว๋ว โทร. 084-752-7864
คุณหน่อย โทร. 089-687-5612

จัดส่งต่างจังหวัด หรือ รับสินค้าที่ราชพฤกษ์-พระราม5 ติดต่อ

Line@ id: @sopack
โทร. 02-459-4571 ถึง 8, 063-191-0915 , 086-903-4041 , 098-260-3900 , 081-890-5571

ลูกค้าที่ต้องการสั่งสินค้าจำนวนมาก หรือรับไปขายต่อ สั่งครั้งละ 10,000ชิ้น ขึ้นไป ติดต่อราคาพิเศษได้ที่

คุณเจิน โทร. 095-515-5451