กระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติกมีอะไรบ้าง?

การเลือกใช้ขวดบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อลดจำนวนขยะที่ทำเกิดสภาวะโลกร้อน

ขวดพลาสติก 

รู้หรือไม่? ว่าทุกวันนี้เราใช้ ขวดพลาสติก กันปริมาณมากขนาดไหน.. จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศปี 2564 ของกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่ามีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 24.98 ล้านตัน พบขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) มีจำนวนมากที่สุด! ทำให้หลายหน่วยงานจึงร่วมกันหาวิธีลดขยะมูลฝอยที่มาจากพลาสติกเหล่านี้ด้วยการรีไซเคิล ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าพลาสติกทุกชนิดจะสามารถนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ทั้งหมด ฉะนั้นก่อนที่จะมารู้จักกระบวนการรีไซเคิล ก็จะต้องรู้ก่อนว่ามีขวดหรือพลาสติกชนิดใดบ้างที่สามารถรีไซเคิลได้

ขวดพลาสติก” อะไรบ้าง? ที่สามารถรีไซเคิลได้

  • พลาสติก PET : ย่อมาจากคำว่า Polyethylene Terephthalate เป็นพลาสติกเนื้อเหนียว ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ลักษณะเป็นขวดใสมีสีต่างๆ และสามารถมองทะลุได้ นิยมนำมาใช้เป็นขวดบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เครื่องดื่มต่างๆ หรือขวดน้ำมันพืช แต่ไม่สามารถใส่เครื่องดื่มหรือของเหลวที่มีแอลกอฮอล์ได้ ซึ่งขวดทำมาจากพลาติก PET นี้สามารถนำมารีไซเคิลได้ 100% และเมื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้ว นอกจากจะสามารถนำกลับมาผลิตเป็น ขวดพลาสติก สำหรับใส่เครื่องดื่มหรือน้ำมันได้เหมือนเดิมแล้ว ยังสามารถนำมาผลิตเป็นเส้นใยสำหรับการทำเสื้อกันหนาว, พรมหรือใยสังเคราะห์สำหรับยัดใส่หมอน เป็นต้น

  • พลาสติก HDPE : ย่อมาจากคำว่า High Density Polyethylene เป็นพลาสติกที่มีลักษณะขุ่น ยืนหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็งและเหนียวไม่เปราะแตกง่าย สามารถทนต่อความร้อนได้ตั้งแต่ 40 – 100 องศาเซลเซียส และสารเคมีที่มีความกรดด่างได้ จึงนิยมนำมาใช้เป็นขวดน้ำยาทำความสะอาด, ขวดแชมพู, ขวดน้ำกรั่น, ขวดน้ำมันเบรกหรือน้ำมันเครื่องได้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังนิยมนำมาผลิตขวดนม, กระปุกยา, ถังขยะหรือถุงพลาสติก ได้อีกด้วย

    โดย ขวดพลาสติก HDPE นี้สามารถนำทำความสะอาดและกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยต้องเป็นของที่มีความใกล้เคียงกับสิ่งเดิมที่เคยบรรจุอยู่ภายในขวด และหลังจากผ่านกระบวนการนำมารีไซเคิลแล้ว ก็สามารถนำมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เราได้กล่าวมาดังเดิม

  • พลาสติก PVC : ย่อมาจากคำว่า Polyvinyl Chloride เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงมาก สามารถทนต่อสารเคมีและเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี จึงนิยมนำมาผลิตประตู หน้าต่าง ฉนวนหุ้มสายไฟ สายยางใส ของเล่นเด็ก แฟ้มใส่เอกสาร หรือบัตรต่างๆ ฯลฯ หลังจากรีไซเคิลแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นท่อประปาหรือกรวยจราจร เป็นต้น

  • พลาสติก LDPE : ย่อมาจากคำว่า Low Density Polyethylene เป็นพลาสติกที่มีความใส นิ่มและยืดตัวได้มาก นิยมนำมาทำเป็นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร, หลอดพลาสติก รวมถึงถุงใส่อาหารหรือขนมแบบเย็น เพราะไม่ทนต่อความร้อนมากนัก สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ เพื่อใช้ผลิตเป็นถุงดำ, ถุงหูหิ้ว แผนฟิล์มหรือถังขยะ

  • พลาสติก PP : ย่อมาจากคำว่า Polypropylene เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงชนิดหนึ่ง ทนต่อความร้อน สารเคมีและน้ำมันคงรูป อีกทั้งยังทนต่อแรงกระแทกได้ดี นิยมนำไปผลิตเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารต่างๆ เช่น ขวดพลาสติก จาน ชาม ถุงร้อน หรือกล่องที่ใส่อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถใส่ไมโครเวฟได้ เมื่อผ่านการรีไซเคิลแล้วมักจะนำมาผลิตกล่องเก็บของอเนกประสงค์, แผ่นกรุผนังกระถางต้นไม้ หรือชิ้นส่วนในรถยนต์

  • พลาสติก PS : ย่อมาจากคำว่า Polystyrene เป็นพลาสติกเนื้อมันวาว แต่ไม่ค่อยแข็งแรงเพราะแตกหักง่าย แต่ทนต่อกรดและด่างได้ดี นิยมนำมาผลิตเป็นภาชนะโฟม ช้อนส้อมพลาสติกหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สามารถนำไปรีไซเคิลและกลับมานำผลิตไม้แขวนเสื้อ แผงสวิชต์ไฟ ฉนวนความร้อน กรอบรูป หรือเครื่องใช้สำนักงานได้

  • พลาสติกอื่นๆ : เช่น พลาสติก PC (Polycarbonate) หรือพลาสติกหลายชนิดมาผสมกัน ที่มีความแข็งแรง ทนต่อความร้น กรดและแรงกระแทกได้ จึงนำมาผลิตปากกา, ขวดนมเด็ก, หมวกนิรภัย, ไฟจราจร หรือป้ายโฆษณา หลังจากรีไซเคิลแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นท่อ, น็อต, ล้อรถยนต์, หรือพาเลท เป็นต้น

กระบวนการรีไซเคิล “ขวดพลาสติก” มีอะไรบ้าง?

  1. การคัดแยกและล้างทำความสะอาด : ขั้นตอนแรกคือการแยกขวดต่างๆ ที่ได้มา โดยจะต้องคัดแยกประเภทของพลาสติกและชิ้นงานพลาสติก เช่น พลาสติกชนิดPP พลาสติกชนิดPE และพลาสติกชนิดไฮเดน เมื่อแยกประเภทของพลาสติกเสร็จแล้ว ต้องแยกคุณลักษณะของพลาสติกด้วย เช่น พลาสติกใช้สำหรับงานฉีด พลาสติกสำหรับงานเป่า, ท่อพีวีซี, โต๊ะเก้าอี้ทำงาน, ถุงพลาสติก, ถุงขยะหรือ ขวดพลาสติก เมื่อคัดแยกเรียบร้อยแล้วจึงนำมาทำความสะอาด ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญเพราะหากล้างไม่สะอาด พลาสติกที่ได้อาจมีกลิ่นเหม็นและอาจทำให้พลาสติกที่ได้ไม่มีคุณภาพ นั่นเอง

  2. การบดและหลอมพลาสติก : ขั้นตอนนี้จะนำพลาสติกที่คัดแยกและทำความสะอาดแล้วนำมาเข้าเครื่องบดพลาสติก เพื่อบดหรือหลอมขวดที่ได้ให้ออกมาเป็นพลาสติกชิ้นเล็กๆ ตามขนาดที่โรงงานรีไซเคิลต้องการ เรียกว่าสแครปหรือบ้างครั้งอาจจะบดจนเป็นผงพลาสติกที่สามารถนำไปหลอมให้เป็นเม็ดพลาสติกเพื่อนำไปใช้ต่อได้เลย

  3. การนำเม็ดพลาสติกไปผสมสี : เมื่อได้เม็ดพลาสติกแล้ว ก็จะนำมาเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำมาผสมสีเขากับเม็ดพลาสติก เพื่อจะได้มีสีเฉดเดียวกันโดยแม่สีนี้มีทั้งแบบชนิดเม็ด และแม่สีชนิดผง

  4. การนำไปชึ้นรูปเป็นขวดพลาสติก : และนำมาขึ้นรูปเป็นขวดรูปทรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขวดนำ้, ขวด PET, หรือขวดบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมใช้งานและถูกส่งกลับมาเพื่อใช้เป็นบรรจุผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป

รู้หรือไม่?

ขวดพลาสติก PET สามารถนำไปรีไซเคิลได้สูงสุดถึง 10 ครั้ง ช่วยลดปัญหาขยะจากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) ซึ่งการรีไซเคิลขวดจากพลาสติก 1 ตัน ช่วยประหยัดน้ำมันดิบได้มากถึง 3.8 บาร์เรล (ประมาณ 604 ลิตร)

ประโยชน์ของการรีไซเคิลขวดจากพลาสติกต่าง

  • ช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลกได้

  • ช่วยลดการผลิตขวดพลาสติกใหม่กว่า 200,000 กิโลกรัม

  • ช่วยลดการใช้พลังงานและวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกใหม่

  • ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มหาศาล

  • ช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศจากการเผาขยะ ลดมลพิษในดินจากสารเคมีที่ซึมในหลุมฝังกลบ รวมถึงลดโอกาสที่ไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปในแหล่งน้ำ

  • ลดการใช้พลังงานและวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกใหม่

  • การรีไซเคิล ขวดพลาสติก 1 ตัน ช่วยประหยัดพื้นที่ในการฝังกลบลบขยะได้มากถึง 5.7 ลูกบาศก์เมตร

ทั้งหมดนี้คือกระบวนการและประโยชน์ของการรีไซเคิลขวดที่ทำจากพลาสติกต่างๆ เพื่อช่วยลดขยะของโลกและลดการปล่อยก๊าซทีทำลายสิ่งแวดล้อมได้ และหากคุณกำลังมองหาขวดบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไวเคิลได้ 100% อย่างขวด PET ที่บริษัท โอ้วไถ่ฮง บรรจุภัณฑ์ จำกัด ของเราก็มีให้คุณเลือกซื้อได้หลายรูปแบบ นอกจากนั้นก็ยังมี ขวดพลาสติก ที่นำไปใช้เป็น ขวดบรรจุภัณฑ์, ขวดสเปรย์, ขวดปั๊มหรือกระปุกครีม ของธุรกิจคุณได้ เพราะเราคือผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์และเวชภัณฑ์ที่มีประสบการณ์เก่าแก่มานานกว่า 60 ปี ที่มีคำชำนาญในการผลิตและสามารถแนะนำกับลูกค้าได้

 

ติดต่อสอบถามสินค้าและสั่งซื้อได้ทาง

Line@ id: @othpackage
คุณแหว๋ว โทร. 084-752-7864
คุณหน่อย โทร. 089-687-5612

จัดส่งต่างจังหวัด หรือ รับสินค้าที่ราชพฤกษ์-พระราม5 ติดต่อ

Line@ id: @sopack
โทร. 02-459-4571 ถึง 8, 063-191-0915 , 086-903-4041 , 098-260-3900 , 081-890-5571